วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เสียงกับการได้ยิน เวลา 10 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความดังของเสียงและการป้องกันเสียงดัง เวลา 1 ชั่วโมง
โรงเรียนวัดเขาวัง ( แสง ช่วงสุวนิช )
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
สอนโดย นางสาวพุ่มพวง สังข์วาลวงศ์
สอนเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553
1. สาระสำคัญ
ความดังของเสียงวัดเป็นระดับความเข้มเสียง มีหน่วยเป็น เดซิเบล ( dB ) เสียงที่มีระดับความเข้มเสียงมากจะเป็นอันตรายกว่าเสียงที่มีระดับความเข้มเสียงน้อย และต้องมีวิธีการป้องกันเสียงที่ดัง

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 นักเรียนอธิบายความดังของเสียงได้
2.2 นักเรียนแยกระดับความเข้มของเสียงต่าง ๆ ได้
2.3 นักเรียนเขียนวิธีการการป้องกันเสียงดังได้

3.สาระการเรียนรู้
ความดังของเสียงและการป้องกันเสียงดัง

4. กิจกรรมการเรียนรู้
4.1 จัดทำนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม โดยวิธีการนับ 1 2 3 1 2 3 …….
4.2 ครูอธิบายความดังของเสียงให้นักเรียนฟัง ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างเสียงที่ดัง และเสียงที่เบา โดยการสุ่มถามตามเลขที่
4.3 นำเสนอสื่อโดยการนำบัตรภาพ เรื่อง ระดับความเข้มของเสียงต่าง ๆ มาให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดู ครูอธิบายวิธีการทำกิจกรรม เรื่อง ระดับความเข้มของเสียงต่าง ๆ ให้นักเรียนฟัง
4.4 นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม เรื่อง ระดับความเข้มของเสียงต่าง ๆ เป็นกลุ่ม ทำลงในใบกำหนดงานที่ 1
4.5 นำเสนอผลงานการปฏิบัติกิจกรรมเรื่อง ระดับความเข้มของเสียงต่าง ๆ โดยการส่งตัวแทนออกมาเขียนที่หน้ากระดาน แล้วอธิบายให้เพื่อน ๆ ฟัง
4.6 ครูให้นักเรียนเขียนวิธีการป้องกันเสียงดัง ลงในสมุด คนละ 3 วิธี
4.7 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง ความดังของเสียงและการป้องกันเสียงดัง ประเมินผล สรุปผลและเพิ่มเติมเนื้อหา

5. สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. สลาก
2. บัตรภาพ เรื่อง ระดับความเข้มของเสียงต่าง ๆ
3. หนังสือวิทยาศาสตร์ ป.5

6. การวัดผล
1.วัดผลการอธิบายความดังของเสียง โดยตรวจผลการเขียนอธิบายความดังของเสียง ลงในสมุดบันทึกและการตอบคำถามเป็นรายบุคคล โดยยึดเกณฑ์ที่ถูกต้อง
2. วัดผลการแยกระดับความเข้มของเสียงต่าง ๆ โดยตรวจผลการแยกระดับความเข้มของเสียงต่าง ๆ ตามใบกำหนดงาน และการนำเสนอหน้าชั้น โดยยึดเกณฑ์ที่ถูกต้อง
3. วัดผลการเขียนวิธีการการป้องกันเสียงดัง โดยตรวจผลการเขียนวิธีการการป้องกันเสียงดัง ลงในสมุดบันทึกและการตอบคำถามเป็นรายบุคคล โดยยึดเกณฑ์ที่ถูกต้อง

7. การประเมินผล
1. ประเมินผลการอธิบายความดังของเสียง พบว่านักเรียน.........คน เขียนอธิบายความดังของเสียง ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้เขียนอธิบายความดังของเสียง มาส่งก่อนเลิกเรียนตอนเย็น
2.ประเมินผลการแยกระดับความเข้มของเสียงต่าง ๆ พบว่านักเรียน...........คน แยกระดับความเข้มของเสียงต่าง ๆ ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
3. ประเมินผลการเขียนวิธีการการป้องกันเสียงดัง พบว่านักเรียน...........คน เขียนวิธีการการป้องกันเสียงดัง ไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ไปถามเพื่อนที่เขียนถูกต้อง แล้วเขียนมาส่งในคาบต่อไป

8. บันทึกหลังสอน
………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………
……………………………………………